เลือกภาษา
รู้ก่อนเกิด หาก่อนเจอ “ตับเสื่อม”
ตับ เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญต่อคนเราอย่างมาก เพราะมีหน้าที่ในการช่วยกำจัดของเสีย รวมถึงสารอนุมูลอิสระ ทั้งจากสารพิษและมลพิษต่างๆ ออกจากร่างกาย แต่หากเมื่อใดที่ตับไม่สามารถจะทำงานได้เป็นปกติ ก็อาจส่งผลให้การกรองของเสียไม่ดีตามไปด้วย เกิดการตกค้างของสารพิษภายในร่างกาย เป็นเหตุให้เจ็บป่วยไม่สบายเพราะโรคต่างๆ ทั้งนี้การที่สุขภาพของตับจะเสื่อมถอยลง ไม่ได้เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือ การมีโภชนาการไม่ดีไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคตับเสมอไป ถ้าเป็นโรคตับเรื้อรังจะส่งผลให้ร่างกายมีสภาวะโภชนาการเลวลง ในทางตรงกันข้าม โภชนาการที่ดีจะช่วยให้ตับสร้างเซลล์ใหม่ที่แข็งแรงเพิ่มขึ้นได้เท่านั้น เพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเราตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอนล้วนสามารถจะส่งผลเสียต่อตับเช่นกัน
โรคตับ สามารถเกิดได้กับทุกเพศ และทุกวัย และไม่มีอาการเจ็บปวด เพราะตับไม่มีเส้นประสาท ไม่ว่าจะจะเกิดปัญหามากอย่างไรก็ไม่รู้สึกเจ็บ จึงเป็นสาเหตุให้ถูกมองข้ามไป อาจจะสังเกตด้วยตัวเองคือ
รู้สึกอ่อนเพลีย กระสับกระส่าย เครียด หงุดหงิด วิตกกังวล
ตาแห้งหรือตาแข็ง การมองเห็นถดถอยลง
ผมมัน หน้ามัน
ถ่ายเหลว มีกลิ่นเหม็นคาว เหนียว กดชำระล้างยาก
ท้องอืด เรอ ระบบย่อยอาหารไม่ดี ช่วงเอวมีชั้นไขมันเพิ่มขึ้น
เวลานอนหลับนำลายไหล กรน มีกลิ่นปาก ปากแห้งขม มีกลิ่นตัว
ปวดศีรษะ วิงเวียน ไร้เรี่ยวแรง ใจลอย
หน้าซีด ไม่มีเลือดฝาด โหนกแก้มอาจมีฝ้า
ปวดขา ปวดบ่า ปวดหลัง ชาตามแขนขา
อารมณ์แปรปรวน โมโหร้าย ซึมเศร้า เบื่อหน่าย
รู้สึกเหนื่อย ขี้เกียจแม้แต่จะพูด ขี้หลงขี้ลืม
ท้องน้อยขยาย มีแก๊สในท้อง ตัวบวม
เลือดออกตามไรฟัน แผลมักเป็นหนอง
นอนไม่ค่อยหลับ หลับไม่สนิท ฝันบ่อย
หน้าอก แผ่นหลังมีไฝแดง เล็บมีรอยเส้นชัดเจน
เต้านมขยาย ปวดประจำเดือน มือเท้าเย็น
สำหรับในผู้หญิงที่เป็น โรคตับแข็ง อาจจะมีอาการประจำเดือนขาดหรือมาไม่สม่ำเสมอ มีหนวดขึ้น หรืออาจจะมีเสียงแหบแห้งคล้ายผู้ชาย
สำหรับ ในผู้ชายอาจรู้สึกนมโตและเจ็บ อัณฑะฝ่อตัว บางคนอาจจะสังเกตเห็นฝ่ามือแดงผิดปกติ หรือมีจุดแดงที่หน้าอกหรือหน้าท้อง เป็นต้น
ในระยะเริ่มแรกอาจจะไม่แสดงอาการ แต่ต่อๆ ไปตับจะทำงานน้อยลง เนื่องจากเนื้อเยื่อดีๆ มีปริมาณลดลง ผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ตัวเหลือง ตาเหลือง สีปัสสาวะสีเหมือนโค้ก บวม มีน้ำในช่องท้อง คันตามมือและเท้าหรือทั่วร่างกาย โลหิตจาง อาการจะรุนแรงขึ้นจนมีอาการทางสมองได้หากไม่ได้รับการรักษา
ต้นเหตุของตับป่วย ที่ทำให้เกิดโรค
ไวรัส ทำให้เกิดตับอักเสบชนิดเฉียบพลัน, ตับอักเสบชนิดร้ายแรง, ตับอักเสบชนิดเรื้อรัง, ตับแข็ง
มะเร็งตับ
ยาบางชนิด ตับอักเสบ, ท่อน้ำดีในตับอุดตัน, หรืออาจเป็นทั้ง 2 ชนิดร่วมกัน
แอลกอฮอล์ ไขมันในตับสูง, ตับอักเสบ, ตับแข็ง, มะเร็งตับ
ไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ที่นอกจากสามารถเพิ่มความเครียดให้กับร่างกายได้แล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพตับด้วย ได้แก่
นอนดึกเกินไปและตื่นสายเกินไป
ไม่ปัสสาวะตอนเช้า
กินมากไป
งดอาหารเช้า
กินอาหารที่มีสารกันบูด สารถนอมอาหาร วัตถุที่เจือปนในอาหาร (Food Additive) สารแต่งกลิ่น สี รส และน้ำตาลเทียมมากไป
บริโภคอาหารดิบบ่อยๆ ยกเว้นผัก ทำให้ตับต้องทำงานหนักขึ้น
บริโภคน้ำมันชนิดไม่ดี ซึ่งมีไขมันอิ่มตัวหรือไขมันทรานส์สูง
ใช้ยาเกินความจำเป็น ผลิตภัณฑ์ยาต่างๆ รวมทั้งยาคุมกำเนิด
แอลกอฮอล์ กาเฟอีน บุหรี่ หรือ ยาเส้น
แนวทางการรักษาโรคตับ คือ การรักษาสาเหตุ ร่วมกับการรักษาประคับประคองตามอาการ
การรักษาสาเหตุ เช่น การให้ยาปฏิชีวนะเมื่อโรคตับเกิดจากติดเชื้อแบคทีเรีย การผ่าตัดเมื่อมีเนื้องอกในตับ การเลิกสุรา หรือการหยุดยา เมื่อโรคตับเกิดจากสุรา หรือ จากยา เป็นต้น นอกจากนั้นเมื่อตับสูญเสียการทำงานจนเกิด ภาวะตับวายเรื้อรัง การรักษาคือ การผ่าตัดเปลี่ยนตับ (Liver transplantation)
การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การให้ยาแก้ปวด หรือ ยาบรรเทาอาการคลื่น ไส้ อาเจียน ตามอาการ การทำผ่าตัดใส่ท่อระบายน้ำดีเมื่อมีตัว ตาเหลืองมากจากมีการอุดตันของทางเดินน้ำดีในตับ และการให้สารน้ำและอาหารทางหลอดเลือดดำเมื่อกิน ดื่ม ได้น้อย เป็นต้น
ความรุนแรงของโรคตับขึ้นกับสาเหตุ เช่น
เมื่อเกิดจากผลข้างเคียงของยา เมื่อหยุดยา เซลล์ตับมักกลับเป็นปกติ
แต่ความรุนแรงจะสูงขึ้น เมื่อเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือ ไวรัสตับอักเสบ ซี
หรือความรุนแรงจะสูงสุด เมื่อสาเหตุเกิดจากโรคมะเร็งตับ หรือมีโรคมะเร็งของอวัยวะอื่นๆแพร่ กระจายมาสู่ตับ
ส่วนผลข้างเคียง/ภาวะแทรกซ้อนจากการมีโรคตับ คือ ภาวะตัวตาเหลือง (โรคดีซ่าน) การมีน้ำในช่องท้อง และภาวะตับวายซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้
การดูแลตนเอง คือ
ปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาลแนะนำ กินยาต่างๆที่แพทย์แนะนำให้ถูกต้อง ครบถ้วน ไม่ขาดยา
เลิกดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
กินยาเฉพาะที่แพทย์สั่ง ไม่ซื้อยากินเอง
พักผ่อนให้เพียงพอ
ดื่มน้ำสะอาดให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้วเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำจากการอาเจียน
กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบถ้วนในทุกวัน ควรปรึกษาแพทย์ พยาบาลในเรื่องอาหาร เพื่อการบริโภคได้อย่างเหมาะสม เพราะจะแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน ทั้งนี้ขึ้นกับประสิทธิภาพการทำงานของตับของผู้ป่วยแต่ละคน (อาหารในผู้ ป่วยโรคตับ)
เคลื่อนไหวร่างกาย ออกกำลังกายสม่ำเสมอตามควรกับสุขภาพ
พบแพทย์ตามนัดเสมอ
รีบพบแพทย์ก่อนนัด เมื่ออาการต่างๆเลวลง หรือมีอาการผิดไปจากเดิม หรือเมื่อกังวลในอาการ
การป้องกันโรคตับสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะดังกล่าวแล้วในหัวข้อสาเหตุ /ปัจจัยเสี่ยงว่า สาเหตุสำคัญของโรคตับ คือ จากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ดังนั้นการป้องกันที่ประสิทธิภาพที่สุด คือ
การไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือถ้าดื่มก็ต้องจำกัด เป็นครั้งคราวในปริมาณไม่มาก สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (ACS,American Cancer Society) แนะนำ จำกัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด โดยในแต่ละวัน ผู้ชายไม่ควรดื่มเบียร์เกิน 350 มิลลิลิตร (มล.) ไวน์ไม่เกิน 150 มล. และสุรา ไม่เกิน 50 มล. ในผู้หญิงลดลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของผู้ชาย เพราะมีรูปร่างและน้ำหนักตัวน้อยกว่าผู้ชาย รวมทั้งสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (AHA,American Heart Association) ก็แนะนำการจำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เช่นกัน
การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อลดโอกาสติดเชื้อ ซึ่งรวมถึงการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบทุกชนิดด้วย
นอกจากนั้น ยังอาจป้องกันโรคตับได้จากการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น การไม่ใช้ยาพร่ำเพรื่อ การไม่กินเห็ดหรือสมุนไพรต่างๆที่ไม่รู้จัก การไม่ใช้สารเสพติด การป้องกัน ควบคุมและรักษาโรคต่างๆที่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำ คัญ ได้แก่ โรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคไขมันในเลือดสูง
นอกจากนั้น ยังอาจป้องกันโรคตับได้จากการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น การไม่ใช้ยาพร่ำเพรื่อ การไม่กินเห็ดหรือสมุนไพรต่างๆที่ไม่รู้จัก การไม่ใช้สารเสพติด การป้องกัน ควบคุมและรักษาโรคต่างๆที่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ได้แก่ โรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคไขมันในเลือดสูง
และทุกวันนี้ เราสามารถหาภาวะความเสี่ยงต่อโรคตับเสื่อมได้โดยง่าย เพียงแค่ใช้เวลาไม่นาน ก็จะทราบว่า คุณมีภาวะความเสี่ยงต่อโรคนี้หรือไม่ และถ้ามีควรจะวางแผนการรักษาอย่างไร และถ้าไมมีโรค ควรจะทำอย่างไร ให้ห่างไกลมาก ขึ้น
หากต้องการ รู้ก่อนเกิด หาก่อนเจอโรคตับเสื่อม สามารถเข้ามาขอรับคำปรึกษาได้ที จงสวัสดิคลินิก ตรงข้ามธนาคารกสิกรไทย สาขา ช่องเข้า มอ. หาดใหญ่ โทร 081-542-9685
"สเต็มเซลล์"
หรือเซลล์ต้นกำเนิด เป็นเซลล์ตั้งต้นที่อยู่ในร่างกายของเราที่ยังไม่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงมีความสามารถเพิ่มจำนวน และพัฒนาตัวเองไปเป็นเซลล์ที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงได้จากประวัติทางการแพทย์แสดงให้เห็นว่า สเต็มเซลล์ใช้รักษาโรคและอาการป่วยที่หลากหลาย รวมถึงเวชศาสตร์ฟื้นฟูสภาวะเสื่อม (Regenative Medicine) ในปัจจุบันมีหลายโรคที่ประสบความสำเร็จในการรักษา เช่น โรคมะเร็ง โรคความผิดปกติของเลือด (ธาลัสซีเมีย) และโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
"Stem cells"
Stem cells are naive, undifferentiated cells present in our body which have the ability to multiply and differentiate into specific cells. Medical advancements have shown stem cells to be effective in treating a anumber of life threatening diseases while also having major success in the area of regenerative medicine and rejuvenation. The cells which are found are either hematopoietic cells, which are blood related cells or non-hematopoietic cells, which are tissue cells that can differentiate into the various organs in the body.
สเต็มเซลล์จากเลือดสายสะดือ สามารถรักษาโรคร้ายแรงต่างๆได้
stem cells can cure a variety of diseases and illnesses
ทำไมจึงควรเก็บสเต็มเซลล์
สเต็มเซลล์จากเลือดสายสะดือ เซลล์ที่ล้ำค่าที่สุดของเซลล์ต้นกำเนิด
สเต็มเซลล์จากเลือดสายสะดือ (Hematopoietic Stem Cell) เป็นแหล่งที่มาสำคัญของเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต และนำมาใช้ในการฟื้นฟูเซลล์เม็ดเลือดและระบบภูมิคุ้นกันให้กับผู้ป่วย ภายหลังจากที่ภูมิคุ้มกันถูกทำลาย เนื่องจากได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดและการฉายรังสี โดยสเต็มเซลล์จะนำมาปลูกถ่ายผ่านเส้นเลือดดำ และจะเดินทางไปยังไขกระดูก ทำให้เกิดการสร้างเซลล์เม็ดเลือดต่างๆ ทำให้ผู้ป่วยกลับมามีเซลล์เม็ดเลือดและระบบภูมิคุ้มกันตามปกติ นอกจากนั้นยังสามารถนำมาใช้รักษาโรคได้มากกว่า 85 ชนิดเช่น โรคในกลุ่มมะเร็ง โรคความผิดปกติของเลือด โรคข้อบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน โรคความผิดปกติของเมตาโบลิซึ่มและอาการของโรคไขกระดูกล้มเหลว ตัวอย่างเช่น
กลุ่มโรคมะเร็ง ได้แก่ โรคมะเร็งของเซลล์เม็ดเลือดทุกชนิด เช่น
1. โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
2. โรคมะเร็งที่อวัยวะต่างๆ
กลุ่มโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของการทำงานของเซลล์ไขกระดูก เช่น
1. โรคโลหิตจางชนิด Aplistic (Severe Aplastic Anemia)
2. โรคโลหิตจางชนิด Fanconi (Fanconi Anemia)
3. Pure Red Cell Aplasia
4. Paroxysmal Nocturnal Hemoglobinuria (PNH)
5. Amegakaryocytosis / Congenital thrombocytopenia
กลุ่มโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิด เช่น
1. Combined Immunodeficiency (CID)
2. Severe Combined Immunodeficiency (SCID)
3. ADA or PNP Deficiency
4. Common Variable Immunodeficiency Disease (CVID)
5. Hypogammaglobulinemia
6. Wiskott-Aldrich Syndrome
กลุ่มโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการสร้างเม็ดเลือดแดง เช่น
1. โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย
2. โรคโลหิตจางชิคเกิลเซลล์ (Sickle Cell disease)
กลุ่มโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบการเผาผลาญอาหาร (Metabolism) เช่น
1. Adrenoleukodystrophy (ALD)
2. Metachromaticleukodystrophy
3. Globoid CellLeukodystrophy (Krabbe Disease)
4. Alpha-mannosidosis
5. Hurler Syndrome
6. Hurler-Scheie Syndrome
7. Hunter's Syndrome
8. Sanfilippo Sundrome
9. Niemann-Pick Syndrome, types A and B
10. Tay Sachs Disease
Why stem cells should be stored?
Every baby's stem cells should be stored as an insurance for future good health. Currently, stem cells are considered standard treatment for a variety of disease which an individual may develop, whether or not there is family history.
Cord Blood Stem Cells:
Cancers, including all types of cancers related to blood, such as:
Leukemia, Lymphoma and cances at different organs.
Disease relating to disorders of bone-marrow cells, such as:
1. Severe Aplastic Anemia
2. Fanconi Anemia
3. Pure Red Cell Aplasia
4. Paroxysmal Noctumal Hemoglobinuria (PNH)
5. Amegakaryocytosis / Congenital Thrombocytopenia
Primary immunodeficiency
1. Combined immunodefiency (CID)
2. Severe Combined immunodefiency (SCID)
3. ADA or PNP Defiency
4. Common Variable Immunodefiency Diseased (CVID)
5. Hypogammaglobulinemia
6. Wiskott-Aldrich Syndrome
Diseases from Hematopoiesis disorders, such as:
1. Thalassemia
2. Sickle Cell Disease
Diseases caused from disorders of metabolism, such as:
1. Andrenoleukodystrophy (ALD)
2. Metachromaticleukodystrophy
3. GloboidCellLeukodystrophy (Krabbe Disease)
4. Alpha-mannosiclosis
5. Hurier Sundrome
6. Hurler-Scheie Syndrome
7. Hunter's Sundrome
8. Sanfilippo Syndrome
9. Niermann-Pick Syndrome, type A and B
10. Tay Sachs Disease